exotic holidays
ทัวร์พม่า ทัวร์พม่า
Myanmar
ทัวร์เกาหลี ทัวร์เกาหลี
Korea
ทัวร์ฮ่องกง ทัวร์ฮ่องกง
Hongkong
ทัวร์สิบสองปันนา ทัวร์สิบสองปันนา
Xishuangbanna
ทัวร์ญี่ปุ่น ทัวร์ญี่ปุ่น
Japan
ทัวร์เวียดนาม ทัวร์เวียดนาม
Vietnam
ทัวร์อินเดีย ทัวร์อินเดีย
India
ทัวร์ภูฏาน ทัวร์ภูฏาน
Bhutan
ทัวร์รัสเซีย ทัวร์รัสเซีย
Russia
ทัวร์ยุโรป ทัวร์ยุโรป
Europe
ทัวร์อังกฤษ ทัวร์อังกฤษ
England
ทัวร์ฝรั่งเศส ทัวร์ฝรั่งเศส
France
ทัวร์อิตาลี ทัวร์อิตาลี
Italy
ทัวร์มาเก๊า ทัวร์มาเก๊า
Macau
ทัวร์สิงคโปร์ ทัวร์สิงคโปร์
Singapore
ทัวร์จีน ทัวร์จีน
China
ทัวร์ปักกิ่ง ทัวร์ปักกิ่ง
Beijing
ทัวร์เซี่ยงไฮ้ ทัวร์เซี่ยงไฮ้
Shanghai
ทัวร์กวางเจา ทัวร์กวางเจา
Guangzhou
ทัวร์บาหลี ทัวร์บาหลี
Bali
ทัวร์บรูไน ทัวร์บรูไน
Brunei
ทัวร์เขมร ทัวร์เขมร
Cambodia
ทัวร์ลาว ทัวร์ลาว
Laos
ทัวร์โครเอเซีย ทัวร์โครเอเซีย
Croatia
ทัวร์ตุรกี ทัวร์ตุรกี
Turkey
ทัวร์เนปาล ทัวร์เนปาล
Nepal
ทัวร์มัลดีฟส์ ทัวร์มัลดีฟส์
Maldives
ทัวร์อเมริกา ทัวร์อเมริกา
America
ทัวร์สแกนดิเนเวีย ทัวร์สแกนดิเนเวีย
Scandinavia
ทัวร์นิวซีแลนด์ ทัวร์นิวซีแลนด์
New Zealand
ทัวร์ออสเตรเลีย ทัวร์ออสเตรเลีย
Australia
ทัวร์แอฟริกา ทัวร์แอฟริกา
Africa
ทัวร์ไต้หวัน ทัวร์ไต้หวัน
Taiwan
ทัวร์จอร์แดน ทัวร์จอร์แดน
Jordan
ทัวร์ศรีลังกา ทัวร์ศรีลังกา
Srilanka
ทัวร์มาเลเซีย ทัวร์มาเลเซีย
Malaysia
ทัวร์ฟิลิปปินส์ ทัวร์ฟิลิปปินส์
Philippines
รูปภาพทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
Travel เที่ยวน่ารู้

ทัวร์พม่า

ความรู้เกี่ยวกับพม่า (สหภาพพม่า)

ประเทศพม่า


ธงชาติพม่า• เมืองหลวง : กรุงเนปีดอ
• เมืองใหญ่สุด : ย่างกุ้ง
• สหภาพเมียนมาร์ (Union of Myanmar) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งชาวตะวันตกเรียกประเทศนี้ว่า Burma จนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2532 พม่าได้เปลี่ยนชื่อประเทศเป็น Myanmar ชื่อใหม่นี้เป็นที่ยอมรับจากองค์การสหประชาชาติ แต่บางชาติ เช่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร ไม่ยอมรับการเปลี่ยนชื่อนี้ เนื่องจากไม่ยอมรับรัฐบาลทหารที่เป็นผู้เปลี่ยนชื่อ ปัจจุบันหลายคนใช้คำว่า Myanmar ซึ่งมาจากชื่อประเทศในภาษาพม่าว่า Myanma Naingngandaw และชาวพม่าเรียกชื่อประเทศตนเองว่า บะหม่า
• ภาษาราชการ : ภาษาพม่า นอกจากภาษาพม่า ซึ่งเป็นภาษาราชการแล้ว พม่ามีภาษาหลักที่ใช้งานในประเทศถึงอีก 18 ภาษา 
• สกุลเงิน : จัต

ประวัติศาสตร์พม่า

ประเทศพม่า หรือ เมียนมาร์ (อังกฤษ: Myanmar หรือ Burma, พม่า) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ (อังกฤษ: Republic of the Union of Myanmar; พม่า: [pjìdà̀uɴzṵ θà̀ɴməda̯ mjəmà nàiɴŋàɴdɔ̀] ปี่เด่าง์ซุ ซัมมะดะ มยะหม่า ไหน่หงั่นด่อ) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนติดกับอินเดีย บังกลาเทศ จีน ลาวและไทย หนึ่งในสามของพรมแดนพม่าที่มีความยาว 1,930 กิโลเมตรเป็นแนวชายฝั่งตามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามัน ด้วยพื้นที่ 676,578 ตารางกิโลเมตร ประเทศพม่าเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 40 ของโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พม่ายังเป็นประเทศที่มีประชากรมากเป็นอันดับที่ 24 ของโลก โดยมีประชากรกว่า 60.28 ล้านคน นับแต่ได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2491 ประเทศพม่าเผชิญกับหนึ่งในสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อที่สุดท่ามกลางกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอยู่มากมายซึ่งยังแก้ไม่ตก ตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ถึง 2554 ประเทศพม่าอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการทหาร คณะผู้ยึดอำนาจการปกครองถูกยุบอย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 2554 หลังการเลือกตั้งทั่วไปใน พ.ศ. 2553 และมีการตั้งรัฐบาลพลเรือนในนามแทน แต่ทหารยังมีอิทธิพลอยู่มาก

ประเทศพม่า / เมียนมาร์/ Myanmar/Burmaประเทศพม่าอุดมไปด้วยทรัพยากร แต่เศรษฐกิจพม่าเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจด้อยพัฒนาที่สุดในโลก จีดีพีของพม่าอยู่ที่ 42,953 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ และเติบโตด้วยอัตราเฉลี่ยร้อยละ 2.9 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำสุดในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา แคนาดาและอีกหลายประเทศได้กำหนดการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อพม่า ระบบสาธารณสุขของพม่าเป็นหนึ่งในระบบสาธารณสุขที่เลวที่สุดในโลก องค์การอนามัยโลกจัดอันดับพม่าไว้อันดับที่ 190 ซึ่งเป็นอันดับสุดท้าย

สหประชาชาติและอีกหลายองค์การได้รายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบในพม่า รวมทั้งพันธุฆาต การข่มขืนเป็นระบบ แรงงานเด็ก ความเป็นทาส การค้ามนุษย์ และการขาดเสรีภาพในการพูด ในช่วงปีหลัง พม่าและผู้นำทหารได้ผ่อนปรนต่อนักเคลื่อนไหวประชาธิปไตและกำลังพัฒนาความสัมพันธ์อย่างช้า ๆ กับมหาอำนาจและสหประชาชาติ

มอญ

ชาวมอญมนุษย์ได้เข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนของประเทศพม่าราว 11,000 ปีมาแล้ว แต่ชนเผ่าแรกที่สามารถสร้างอารยธรรมขึ้นเป็นเอกลักษณ์ของตนได้ก็คือชาวมอญ ชาวมอญได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้เมื่อราว 2,400 ปีก่อนพุทธกาล และได้สถาปนาอาณาจักรสุวรรณภูมิ อันเป็นอาณาจักรแห่งแรกขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ณ บริเวณใกล้เมืองท่าตอน (Thaton) ชาวมอญได้รับอิทธิพลของศาสนาพุทธผ่านทางอินเดียในราวพุทธศตวรรษที่ 2 ซึ่งเชื่อว่ามาจากการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในรัชสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช บันทึกของชาวมอญส่วนใหญ่ถูกทำลายในระหว่างสงคราม วัฒนธรรมของชาวมอญเกิดขึ้นจากการผสมเอาวัฒนธรรมจากอินเดีย จึงเป็นเอกลักษณ์ของตนเองจนกลายเป็นวัฒนธรรมลักษณะลูกผสม ในราวพุทธศตวรรษที่ 14 ชาวมอญได้เข้าครอบครองและมีอิทธิพลในดินแดนตอนใต้ของพม่าและได้เกิดอาณาจักใหม่ขึ้นเรียกว่า อาณาจักรสุธรรมวดี ที่เมืองพะโค (หงสาวดี)

พยู

ชาวปยูหรือพยูเข้ามาอาศัยอยู่ในดินแดนประเทศเมียนมาร์ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 4 และได้สถาปนานครรัฐขึ้นหลายแห่ง เช่นที่ พินนาคา (Binnaka) มองกะโม้ (Mongamo) อาณาจักรศรีเกษตร (Sri Ksetra) เปียทะโนมโย (Peikthanomyo) และหะลินยี (Halingyi) ในช่วงเวลาดังกล่าว ดินแดนเมียนมาร์เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางการค้าระหว่างจีนและอินเดีย จากเอกสารของจีนพบว่า มีเมืองอยู่ภายใต้อำนาจปกครองของชาวพยู 18 เมือง และชาวพยูเป็นชนเผ่าที่รักสงบ ไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นระหว่างชนเผ่าพยู ข้อขัดแย้งมักยุติด้วยการคัดเลือกตัวแทนให้เข้าประลองความสามารถกัน ชาวพยูสวมใส่เครื่องแต่งกายที่ทำจากฝ้าย อาชญากรมักถูกลงโทษด้วยการโบยหรือจำขัง เว้นแต่ได้กระทำความผิดอันร้ายแรงจึงต้องโทษประหารชีวิต ชาวพยูนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เด็ก ๆ ได้รับการศึกษาที่วัดตั้งแต่อายุ 7 ขวบจนถึง 20 ปีนครรัฐของชาวพยูไม่เคยรวมตัวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่นครรัฐขนาดใหญ่มักมีอิทธิพลเหนือนครรัฐขนาดเล็กซึ่งแสดงออกโดยการส่งเครื่องบรรณาการให้ นครรัฐที่มีอิทธิพลมากที่สุดได้แก่ศรีเกษตร ซึ่งมีหลักฐานเชื่อได้ว่า เป็นเมืองโบราณที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศเมียนมาร์ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าอาณาจักรศรีเกษตรถูกสถาปนาขึ้นเมื่อใด แต่มีการกล่าวถึงในพงศาวดารว่ามีการเปลี่ยนราชวงศ์เกิดขึ้นในปีพุทธศักราช 637 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าอาณาจักรศรีเกษตรต้องได้รับการสถาปนาขึ้นก่อนหน้านั้น มีความชัดเจนว่า อาณาจักรศรีเกษตรถูกละทิ้งไปในปีพุทธศักราช 1199 เพื่ออพยพย้ายขึ้นไปสถาปนาเมืองหลวงใหม่ทางตอนเหนือ แต่ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองใด นักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าเมืองดังกล่าวคือเมืองหะลินคยี อย่างไรก็ตามเมืองดังกล่าวถูกรุกรานจากอาณาจักรน่านเจ้าในราวพุทธศตวรรษที่ 15 จากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานกล่าวถึงชาวพยูอีก

อาณาจักรพุกาม

พม่าชาวพม่าเป็นชนเผ่าจากทางตอนเหนือที่ค่อย ๆ อพยพแทรกซึมเข้ามาสั่งสมอิทธิพลในดินแดนประเทศพม่าทีละน้อย กระทั่งปีพุทธศักราช 1392 จึงมีหลักฐานถึงอาณาจักรอันทรงอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมือง "พุกาม" (Pagan)โดยได้เข้ามาแทนที่ภาวะสุญญากาศทางอำนาจภายหลังจากการเสื่อมสลายไปของอาณาจักรชาวพยู อาณาจักรของชาวพุกามแต่แรกนั้นมิได้เติบโตขึ้นอย่างเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กระทั่งในรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา (พ.ศ. 1587–1620) พระองค์จึงสามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันสำเร็จ และเมื่อพระองค์ทรงตีเมืองท่าตอนของชาวมอญได้ในปีพุทธศักราช 1600 อาณาจักรพุกามก็กลายเป็นอาณาจักรที่เข้มแข็งที่สุดในดินแดนพม่า อาณาจักรพุกามมีความเข้มแข็งเพิ่มมากขึ้นในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา (พ.ศ. 1624–1655) และพระเจ้าอลองสิธู (พ.ศ. 1655–1710) ทำให้ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 ดินแดนในคาบสมุทรสุวรรณภูมิเกือบทั้งหมดถูกครอบครองโดยอาณาจักรเพียงสองแห่ง คือเขมรและพุกาม

อำนาจของอาณาจักรพุกามค่อยๆ เสื่อมลง ด้วยเหตุผลหลักสองประการ ส่วนหนึ่งจากการถูกเข้าครอบงำโดยของคณะสงฆ์ผู้มีอำนาจ และอีกส่วนหนึ่งจากการรุกรานของจักรวรรดิมองโกลที่เข้ามาทางตอนเหนือ พระเจ้านรสีหบดี (ครองราชย์ พ.ศ. 1779–1830) ได้ทรงนำทัพสู่ยุนนานเพื่อยับยั้งการขยายอำนาจของมองโกล แต่เมื่อพระองค์แพ้สงครามที่งาสองกยัน (Ngasaunggyan) ในปีพุทธศักราช 1820 ทัพของอาณาจักรพุกามก็ระส่ำระสายเกือบทั้งหมด พระเจ้านรสีหบดีถูกพระราชโอรสปลงพระชนม์ในปีพุทธศักราช 1830 กลายเป็นตัวเร่งที่ทำให้อาณาจักรมองโกลตัดสินใจรุกรานอาณาจักรพุกามในปีเดียวกันนั้น ภายหลังสงครามครั้งนี้ อาณาจักรมองโกลก็สามารถเข้าครอบครองดินแดนของอาณาจักรพุกามได้ทั้งหมด ราชวงศ์พุกามสิ้นสุดลงเมื่อมองโกลได้แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นขึ้นบริหารดินแดนพม่าในปีพุทธศักราช 1832

อังวะและหงสาวดี

หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรพุกาม พม่าได้แตกแยกออกจากกันอีกครั้ง ราชวงศ์อังวะซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากอาณาจักรพุกามได้ถูกสถาปนาขึ้นที่เมืองอังวะในปีพุทธศักราช 1907 ศิลปะและวรรณกรรมของพุกามได้ถูกฟื้นฟูจนยุคนี้กลายเป็นยุคทองแห่งวรรณกรรมของพม่า แต่เนื่องด้วยอาณาเขตที่ยากต่อป้องกันการรุกรานจากศัตรู เมืองอังวะจึงถูกชาวไทใหญ่เข้าครอบครองได้ในปีพุทธศักราช 2070 สำหรับดินแดนทางใต้ ชาวมอญได้สถาปนาอาณาจักรของพวกตนขึ้นใหม่อีกครั้งที่หงสาวดี โดยกษัตริย์ธรรมเจดีย์ (ครองราชย์ พ.ศ. 2035 – 2070) เป็นจุดเริ่มต้นยุคทองของมอญ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนานิกายเถรวาทและศูนย์กลางทางการค้าขนาดใหญ่ในเวลาต่อมา

ทัวร์พม่า

อาณาจักร์ตองอู

หลังจากถูกรุกรานจากไทใหญ่ ชาวอังวะได้อพยพลงมาสถาปนาอาณาจักรแห่งใหม่โดยมีศูนย์กลางที่เมืองตองอูในปีพุทธศักราช 2074 ภายใต้การนำของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ (ครองราชย์ พ.ศ. 2074–2093) ซึ่งสามารถรวบรวมพม่าเกือบทั้งหมดให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันได้อีกครั้ง ในช่วงระยะเวลานี้ ได้มีการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นในภูมิภาค ชาวไทใหญ่มีกำลังเข้มแข็งเป็นอย่างมากทางตอนเหนือ การเมืองภายในอาณาจักรอยุธยาเกิดความไม่มั่นคง ในขณะที่โปรตุเกสได้เริ่มมีอิทธิพลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสามารถเข้าครอบครองมะละกาได้ เกี่ยวกับการเข้ามาของบรรดาพ่อค้าชาวยุโรป พม่ากลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การที่พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่เมืองหงสาวดี เหตุผลส่วนหนึ่งก็เนื่องด้วยทำเลทางการค้า พระเจ้าบุเรงนอง (ครองราชย์ พ.ศ. 2094–2124) ซึ่งเป็นพระเทวัน (พี่เขย) ของพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ได้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าตะเบงชะเวตี้ และสามารถเข้าครอบครองอาณาจักรต่าง ๆ รายรอบได้ อาทิ มณีปุระ (พ.ศ. 2103) อยุธยา (พ.ศ. 2112) ราชการสงครามของพระองค์ทำให้พม่ามีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุด อย่างไรก็ตาม ทั้งมณีปุระและอยุธยา ต่างก็สามารถประกาศตนเป็นอิสระได้ภายในเวลาต่อมาไม่นาน

เมื่อต้องเผชิญกับการก่อกบฏจากเมืองขึ้นหลายแห่ง ประกอบกับการรุกรานของโปรตุเกส กษัตริย์แห่งราชวงศ์ตองอูจำเป็นต้องถอนตัวจากการครอบครองดินแดนทางตอนใต้ โดยย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองอังวะ พระเจ้าอะนอกะเพตลุน (Anaukpetlun) พระนัดดาของพระเจ้าบุเรงนอง สามารถรวบรวมแผ่นดินพม่าให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอีกครั้งในพุทธศักราช 2156 พระองค์ตัดสินใจที่จะใช้กำลังเข้าต่อต้านการรุกรานของโปรตุเกส พระเจ้าทาลุน (Thalun) ผู้สืบทอดราชบัลลังก์ ได้ฟื้นฟูหลักธรรมศาสตร์ของอาณาจักรพุกามเก่า แต่พระองค์ทรงใช้เวลากับเรื่องศาสนามากเกินไป จนละเลยที่จะใส่ใจต่ออาณาเขตทางตอนใต้ ท้ายที่สุด หงสาวดี ที่ได้รับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสซึ่งตั้งมั่นอยู่ในอินเดีย ก็ได้ทำการประกาศเอกราชจากอังวะ จากนั้นอาณาจักรของชาวพม่าก็ค่อย ๆ อ่อนแอลงและล่มสลายไปในปีพุทธศักราช 2295 จากการรุกรานของชาวมอญ


 

ลักษณะภูมิประเทศ

ภูมิประเทศพม่าภาคเหนือ : มีเทือกเขาปัตไก เป็นพรมแดนระหว่างพม่าและอินเดีย
ภาคตะวันตก : มีเทือกเขาอาระกันโยมากั้นเป็นแนวยาว
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : เป็นที่ราบสูงชาน
ภาคใต้ : มีทิวเขาตะนาวศรี กั้นระหว่างไทยกับพม่า
ภาคกลาง : เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดี

ประเทศพม่าการแบ่งเขตการปกครอง

พม่าแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 รัฐ (states) และ 7 เขต (divisions)
รัฐ (States)
1.รัฐชิน (Chin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองฮะคา
2.รัฐกะฉิ่น (Kachin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมิตจีนา
3.รัฐกะเหรี่ยง (Kayin) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองปะอาน
4.รัฐกะยา (Kayah) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองหลอยก่อ
5.รัฐมอญ (Mon) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองมะละแหม่ง
6.รัฐยะไข่ (Rakhine) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองซิตตเว
7.รัฐฉานหรือไทใหญ่ (Shan) มีเมืองหลวงชื่อ เมืองตองยี
เขต (Divisions)
1.เขตอิรวดี (Ayeyarwady) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะสิม
2.เขตพะโค (Bago) มีเมืองเอกชื่อ เมืองพะโค
3.เขตมาเกว (Magway) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมาเกว
4.เขตมัณฑะเลย์ (Mandalay) มีเมืองเอกชื่อ เมืองมัณฑะเลย์ 
5.เขตสะกาย (Sagaing) มีเมืองเอกชื่อ เมืองสะกาย
6.เขตตะนาวศรี (Tanintharyi) มีเมืองเอกชื่อ เมืองทวาย
7.เขตย่างกุ้ง (Yangon) มีเมืองเอกชื่อ เมืองย่างกุ้ง
 

เศรษฐกิจ

วัฒนธรรม ศาสนาพม่า เกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก เขตเกษตรกรรมคือบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดี และแม่น้ำสะโตง ปลูกข้าวเจ้า ปอกระเจา อ้อย และพืชเมืองร้อนอื่น ๆ
• การทำเหมืองแร่ ภาคกลางตอนบนมีน้ำมันปิโตรเลียม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขุดแร่ หิน สังกะสี และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ทำเหมืองดีบุก
• การทำป่าไม้มีการทำป่าไม้สักทางภาคเหนือส่องออกขายและล่อมมาตามแม่น้ำอิรวดีเข้าสู่ย่างกุ้ง •อุตสาหกรรม กำลังพัฒนา อยู่บริเวณตอนล่าง เช่น ย่างกุ้ง
พม่าเป็นประเทศกำลังพัฒนา มีรายได้เฉลี่ยต่อบุคคลอยู่ในเกณฑ์ต่ำมาก
 

ประชากร

จำนวนประชากรประมาณ 52 ล้านคนพม่ามีประชากรหลายเชื้อชาติจึงเกิดเป็นปัญหาชนกลุ่มน้อย มีชาติพันธุ์พม่า 63% ไทยใหญ่ 16% มอญ 5% ยะไข่ 5% กะเหรี่ยง 3.5% คะฉิ่น 3% ไทย 3% ชิน 1%

 

การเมือง

พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อยญี่ปุ่น ได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรงมีนายอองซาน (ต่อมาได้เป็นนายพลอองซานซึ่งเป็นบิดาของนางอองซานซูจี) นักชาตินิยมและเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ่นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้วกลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งนายอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ ใน พ.ศ. 2485 นายอองซานและพวกตะขิ่นได้เดินทางกลับพม่านายอองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว นายอองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่นายอองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่นๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของนายอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีนายอองซานเป็นหัวหน้า นายอองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL นายอองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่อยู่ในห้องประชุมสภา ต่อมาตะขิ่นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์ ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายยกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วินซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา

 

วัฒนธรรม

วัฒนธรรมของพม่าได้รับอิทธิพลทั้งจากจีน อินเดีย และไทยมาช้านาน ดังสะท้อนให้เห็นในด้านภาษา ดนตรี และอาหารสำหรับศิลปะของพม่านั้นได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีและพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาตั้งแต่ครั้งโบราณ

ในปัจจุบันนี้วัฒนธรรมพม่ายังได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น ซึ่งเห็นได้ชัดจากเขตชนบทของประเทศ ด้านการแต่งกาย ชาวพม่าทั้งหญิงและชายนิยมนุ่งโสร่ง เรียกว่า ลองยี ส่วนการแต่งกายแบบโบราณเรียกว่า ลุนตยาอชิก

ศาสนา

พม่าบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติใน พ.ศ. 2517 เพราะมีผู้นับถือศาสนาพุทธ 92.3% ศาสนาคริสต์ 4% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาฮินดู 0.7%

 

การคมนาคมขนส่ง

การขนส่งทางบก ได้แก่ ทางถนนและทางรถไฟ ทางถนน ถนนในพม่าส่วนใหญ่ขนานไปกับภูเขาและแม่น้ำ ทอดไปตามความยาวของประเทศ เช่นเดียวกับทางรถไฟ ถนนสายต่าง ๆ ที่สำคัญมีดังนี้ ถนนสายพม่า เป็นถนนสายสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างย่างกุ้งกับเมืองคุนหมิง ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจีน มีความยาวในเขตพม่าถึงเมืองมูเซ ประมาณ 1,160 กิโลเมตร และมีความยาวในเขตจีนจากมูเซถึงคุนหมิง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถนนสายนี้ผ่านเมืองต่าง ๆ คือ พะโค-ตองอู-ปินมานา-เมกติลา-มัณฑะเลย์-เมเบียงกอดเต็ก-สีป๊อ-ลาโช-แสนหวี-มูเซ รวมความยาวทั้งสิ้นประมาณ 2,140 กิโลเมตร ใช้การทุกฤดูกาล 

การขนส่งทางน้ำ การคมนาคมขนส่งทางน้ำภายในประเทศ นับว่ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศพม่าเป็นอย่างมาก และยังเป็นเส้นทางคมนาคมหลักมาตั้งแต่อดีต เนื่องจากพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำอิระวดีมีทางน้ำอยู่มากมาย และเป็นเขตที่มีประชาชนพลเมืองอาศัยอยู่หนาแน่นที่สุด ประกอบกับเส้นทางถนนและทางรถไฟยังมีจำกัด

 
ราชวงศ์อลองพญา

ราชวงศ์อลองพญาได้รับการสถาปนาขึ้นและสร้างความเข้มแข็งจนถึงขีดสุดได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว พระเจ้าอลองพญาซึ่งเป็นผู้นำที่ได้รับความนิยมจากชาวพม่า ได้ขับไล่ชาวมอญที่เข้ามาครอบครองดินแดนของชาวพม่าได้ในปี พ.ศ. 2296 จากนั้นก็สามารถเข้ายึดครองอาณาจักรมอญได้อีกครั้งในปี พ.ศ. 2302 ทั้งยังสามารถกลับเข้ายึดครองกรุงมณีปุระได้ในช่วงเวลาเดียวกัน พระองค์สถาปนาให้เมืองย่างกุ้งเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ. 2315 หลังจากเข้ายึดครองตะนาวศรี (Tenasserim) พระองค์ได้ยาตราทัพเข้ารุกรานอยุธยา แต่ต้องประสบความล้มเหลวเมื่อพระองค์สวรรคตระหว่างการสู้รบ พระเจ้าเซงพะยูเชง (Hsinbyushin, ครองราชย์ พ.ศ. 2306 – 2319) พระราชโอรส ได้โปรดให้ส่งทัพเข้ารุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2309 ซึ่งประสบความสำเร็จในปีถัดมา ในรัชสมัยนี้ แม้จีนจะพยายามขยายอำนาจเข้าสู่ดินแดนพม่า แต่พระองค์ก็สามารถยับยั้งการรุกรานของจีนได้ทั้งสี่ครั้ง (ในช่วงปี พ.ศ. 2309–2312) ทำให้ความพยายามในการขยายพรมแดนของจีนทางด้านนี้ต้องยุติลง ในรัชสมัยของพระเจ้าโบดอพญา (Bodawpaya, ครองราชย์ พ.ศ. 2324–2362) พระโอรสอีกพระองค์หนึ่งของพระเจ้าอลองพญา พม่าต้องสูญเสียอำนาจที่มีเหนืออยุธยาไป แต่ก็สามารถผนวกดินแดนยะไข่ (Arakan) และตะนาวศรี (Tenasserim) เข้ามาไว้ได้ในปี พ.ศ. 2327 และ 2336 ตามลำดับ ในช่วงเดือนมกราคมของปี พ.ศ. 2366 ซึ่งอยู่ในรัชสมัยของพระเจ้าบาคยีดอว์ (Bagyidaw, ครองราชย์ พ.ศ. 2362–2383) ขุนนางชื่อมหาพันธุละ (Maha Bandula) นำทัพเข้ารุกรานแคว้นอัสสัมได้สำเร็จ ทำให้พม่าต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับอังกฤษที่ครอบครองอินเดียอยู่ในขณะนั้น

 


สงครามกับอังกฤษและการล่มสลายของราชอาณาจักรพม่า

การล่มสลายของพม่าสืบเนื่องจากการพยายามขยายอำนาจของอังกฤษ กองทัพอังกฤษได้เข้าทำสงครามกับพม่าในปี พ.ศ. 2367 สงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่หนึ่งนี้ (พ.ศ. 2367–2369) ยุติลงโดยอังกฤษเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ฝ่ายพม่าจำต้องทำสนธิสัญญายันดาโบ (Yandaboo) กับอังกฤษ ทำให้พม่าต้องสูญเสียดินแดนอัสสัม มณีปุระ ยะข่าย และตะนาวศรีไป ซึ่งอังกฤษเริ่มก็ต้นตักตวงทรัพยากรต่าง ๆ ของพม่านับแต่นั้น เพื่อเป็นหลักประกันสำหรับวัตถุดิบที่จะป้อนสู่สิงคโปร์ สร้างความแค้นเคืองให้กับทางพม่าเป็นอย่างมาก กษัตริย์องค์ต่อมาจึงทรงยกเลิกสนธิสัญญายันดาโบ และทำการโจมตีผลประโยชน์ของฝ่ายอังกฤษ ทั้งต่อบุคคลและเรือ เป็นต้นเหตุให้เกิดสงครามระหว่างพม่าและอังกฤษครั้งที่สอง ซึ่งก็จบลงโดยชัยชนะเป็นของอังกฤษอีกครั้ง หลังสิ้นสุดสงครามครั้งนี้ อังกฤษได้ผนวกหงสาวดีและพื้นที่ใกล้เคียงเข้าไว้กับตน โดยได้เรียกดินแดนดังกล่าวเสียใหม่ว่าพม่าตอนใต้ สงครามครั้งนี้ก่อให้เกิดการปฏิวัติครั้งใหญ่ในพม่า เริ่มต้นด้วยการเข้ายึดอำนาจโดยพระเจ้ามินดง (Mindon Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2396–2421) จากพระเจ้าปะกัน (Pagin Min, ครองราชย์ พ.ศ. 2389–2396) ซึ่งเป็นพระเชษฐาต่างพระชนนี พระเจ้ามินดงพยายามพัฒนาประเทศพม่าเพื่อต่อต้านการรุกรานของอังกฤษ พระองค์ได้สถาปนากรุงมัณฑะเลย์ ซึ่งยากต่อการรุกรานจากภายนอก ขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะหยุดยั้งการรุกรานจากอังกฤษได้ รัชสมัยต่อมา พระเจ้าธีบอ (Thibow, ครองราชย์ พ.ศ. 2421–2428) ซึ่งเป็นพระโอรสของพระเจ้ามินดง ทรงมีบารมีไม่พอที่จะควบคุมพระราชอาณาจักรได้ จึงทำให้เกิดความวุ่นวายขึ้นไปทั่วในบริเวณชายแดน ในที่สุดพระองค์ได้ตัดสินพระทัยยกเลิกสนธิสัญญากับอังกฤษที่พระเจ้ามินดงได้ทรงกระทำไว้ และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นครั้งที่สามในปีพุทธศักราช 2428 ผลของสงครามครั้งนี้ทำให้อังกฤษสามารถเข้าครอบครองดินแดนประเทศพม่าส่วนที่เหลือเอาไว้ได้

เอกราช

พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2429 และระยะก่อนการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เล็กน้อย ญี่ปุ่นได้เข้ามามีบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยได้ติดต่อกับพวกตะขิ่น ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาหนุ่มที่มีหัวรุนแรง มีออง ซาน นักชาตินิยม และเป็นผู้นำของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้งเป็นหัวหน้า พวกตะขิ้นเข้าใจว่าญี่ปุ่นจะสนับสนุนการประกาศอิสรภาพของพม่าจากอังกฤษ แต่เมื่อญี่ปุ่นยึดครองพม่าได้แล้ว กลับพยายามหน่วงเหนี่ยวมิให้พม่าประกาศเอกราช และได้ส่งอองซานและพวกตะขิ่นประมาณ 30 คน เดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อรับคำแนะนำในการดำเนินการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพจากอังกฤษ

เมื่อคณะของอองซานได้เดินทางกลับพม่าใน พ.ศ. 2485 อองซานได้ก่อตั้ง องค์การสันนิบาตเสรีภาพแห่งประชาชนต่อต้านฟาสซิสต์ (Anti-Fascist Peoples Freedom League : AFPFL) เพื่อต่อต้านญี่ปุ่นอย่างลับ ๆ องค์การนี้ภายหลังได้กลายเป็นพรรคการเมือง ชื่อ พรรค AFPFL เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว อองซานและพรรค AFPFL ได้เจรจากับอังกฤษ โดยอังกฤษยืนยันที่จะให้พม่ามีอิสรภาพปกครองตนเองภายใต้เครือจักรภพ และมีข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำพม่าช่วยให้คำปรึกษา แต่อองซานมีอุดมการณ์ที่ต้องการเอกราชอย่างสมบูรณ์ อังกฤษได้พยายามสนันสนุนพรรคการเมืองอื่น ๆ ขึ้นแข่งอำนาจกับพรรค AFPFL ของอองซานแต่ไม่เป็นผลสำเร็จ จึงยินยอมให้พรรค AFPFL ขึ้นบริหารประเทศโดยมีอองซานเป็นหัวหน้า อองซานมีนโยบายสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และต้องการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษโดยสันติวิธี จึงทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายนิยมคอมมิวนิสต์ในพรรค AFPFL อองซานและคณะรัฐมนตรีอีก 6 คน จึงถูกลอบสังหาร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 ขณะที่เดินออกจากที่ประชุมสภา ต่อมาตะขิ้นนุหรืออูนุได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทนและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2490 โดยอังกฤษได้มอบเอกราชให้แก่พม่าแต่ยังรักษาสิทธิทางการทหารไว้ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 อังกฤษจึงได้มอบเอกราชให้แก่พม่าอย่างสมบูรณ์

ภายหลังจากพม่าได้รับเอกราชแล้วการเมืองภายในประเทศก็มีการสับสนอยู่ตลอดเวลา นายกรัฐมนตรี คือ นายอูนุถูกบีบให้ลาออก เมื่อพ.ศ. 2501 ผู้นำพม่าคนต่อมาคือนายพลเน วิน ซึ่งได้ทำการปราบจลาจลและพวกนิยมซ้ายจัดอย่างเด็ดขาด เขาได้จัดไห้มีการเลือกตั้งทั่วประเทศใน พ.ศ. 2503 ทำให้นายอูนุได้กลับมาเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ เพราะได้รับเสียงข้างมากในสภา


 

เที่ยวน่ารู้ทัวร์พม่า อื่นๆ



• ทัวร์พม่า เจดีย์โบตะทาวน์
• ทัวร์พม่า วัดพระเขี้ยวแก้ว
• ทัวร์พม่า เจดีย์ชเวดากอง
• ทัวร์พม่า พระเจดีย์ชเวมอดอว์
• ทัวร์พม่า พระราชวังบุเรงนอง
• ทัวร์พม่า เจดีย์ไจก์ทิโย
• ทัวร์พม่า พระนอนชเวตาเลียว
• ทัวร์พม่า เจดีย์ไจ๊ปุ่น (พระสี่ทิศ)
• ทัวร์พม่า วัดพระหินขาว
• ทัวร์พม่า ย่างกุ้ง
• ทัวร์พม่า พระเจดีย์เยเลพญา
• ทัวร์พม่า พระพุทธไสยาสน์เจาทัตยี หรือพระตาหวาน
• ทัวร์พม่า ตลาดโบยกอองซาน
• ทัวร์พม่า สิเรียม
• ทัวร์พม่า มัณฑะเลย์
• ทัวร์พม่า พุกาม
• ทัวร์พม่า พระมหามัยมุนี
• ทัวร์พม่า ความรู้เกี่ยวกับพม่า (สหภาพพม่า)
• ทัวร์พม่า มหาบูชาสถาน...
• ทัวร์พม่า เที่ยวพม่า ตามรอยเจ้าจันทร์ผมหอม...
• ทัวร์พม่า พุกาม ศักดิ์สิทธิ์ อลังการ...
• ทัวร์พม่า เนปิดอว์ เมืองหลวงใหม่ของพม่า
• ทัวร์พม่า ตานาคา...แป้งพม่ามหาเสน่ห์
• ทัวร์พม่า อาหารพม่า
• ทัวร์พม่า อานันดา กู่พญา
• ทัวร์พม่า 7 สิ่งห้ามพลาดที่เจดีย์ชเวดากอง
• ทัวร์พม่า ภัตตาคารการเวก (Karaweik Hall)

ทัวร์เกาหลี

ความรู้เกี่ยวกับเกาหลี

สาธารณรัฐเกาหลี Republic of Korea

ธงชาติเกาหลีสาธารณรัฐเกาหลี (อังกฤษ: Republic of Korea; ฮันกึล: 대한민국; ฮันจา: 大韓民國) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า เกาหลีใต้ (อังกฤษ: South Korea) เป็นประเทศในเอเชียตะวันออก มีพื้นที่ครอบคลุมส่วนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พรมแดนทางเหนือติดกับประเทศเกาหลีเหนือ มีประเทศญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้โดยมีทะเลญี่ปุ่นและช่องแคบเกาหลีกั้นไว้
ในภาษาเกาหลีอ่านชื่อประเทศว่า แดฮันมินกุก (อักษรฮันกึล: 대한민국; อักษรฮันจา: 大韓民國) โดยเรียกสั้น ๆ ว่า ฮันกุก (한국)ที่หมายถึงคนชาวฮั่นหรือคนเกาหลี และบางครั้งจะใช้ชื่อว่า นัมฮัน (남한) ที่หมายถึง ชาวฮั่นทางใต้ ส่วนชาวเกาหลีเหนือจะเรียกเกาหลีใต้ว่า นัมโชซอน (남조선) ที่หมายถึง โชซอนใต้

ประวัติศาสตร์


ยุคโกโชซอน

เกาหลี

อาณาจักรโกโชซอน หรือ อาณาจักรโชซอนโบราณ

ตั้งอยู่ตรงบริเวณตอนใต้ของแมนจูเรียและตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นโดยกษัตริย์ ทันกุน วังกอม เมื่อ 2333 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีเมืองหลวงคือ วังกอมซอง (เปียงยางในปัจจุบัน) และล่มสลายลงในปี พ.ศ. 435 โดยการเข้ายึดครองโดยกองทัพของราชวงศ์ฮั่นที่ปกครองประเทศจีน ราชวงศ์ฮั่นได้แบ่งอาณาจักรโกโชซอนออกเป็น 4 แคว้นคือ แคว้นนังนัง แคว้นเหลียวตง แคว้นเสิ่นตู และแคว้นเซินฟาน


ยุคหกอาณาจักร

ทัวร์เกาหลีในยุคนี้บนคาบสมุทรเกาหลีและในแมนจูเรียมีอาณาจักรต่างๆก่อตัวขึ้นจำนวนหกอาณาจักร คือ

อาณาจักรพูยอ ตั้งอยู่บริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือของแมนจูเรีย ก่อตั้งโดย พระเจ้าแฮบูรู ภายหลังถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร คือ ตงพูยอ และ พุกพูยอ อาณาจักรตงพูยอปกครองโดยพระเจ้าแทโซ ส่วนอาณาจักรพุกพูยอภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรโกคูรยอปกครองโดยพระเจ้าดงเมียงซอง อาณาจักรตงพูยอถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรโกคูรยอหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าแทโซ

อาณาจักรทงเย เดิมทงเยเป็นมณฑลหนึ่งโกโชซอน หลังจากโกโชซอนล้มสลายลงและถูกแบ่งออกเป็น 4 แคว้นนั้น มณฑลทงเยจึงได้ก่อตั้งขึ้นเป็นอาณาจักร อยู่บริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรเกาหลี อาณาจักรทงเยถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรโกคูรยอในปี ค.ศ. 400 สมัยพระเจ้ากวางแกโตมหาราช

อาณาจักรอกจอ เดิมอกจอเป็นเพียงชนเผ่าเล็กๆที่ก่อตัวขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลีในพุทธศตวรรษที่ 2 อาณาจักรอกจอตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของคาบสมุทรเกาหลีทอดตัวยาวตามทะเลญี่ปุ่น ทิศเหนือและทิศตะวันตกมีพื้นที่ติดกับอาณาจักรโกคูรยอทิศใต้มีพื้นที่ติดกับอาณาจักรทงเย อาณาจักรอกจอถูกแบ่งออกเป็นสองอาณาจักร คือ ตงอกจอ และพุกอกจอหรือชิคูรู อาณาจักรอกจอทั้งสองถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรโกคูรยอในพุทธศตวรรษที่ 5 สมัยพระเจ้ากวางแกโตมหาราช

อาณาจักรมาฮัน ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าจุนที่อพยพประชาชนมาจากโกโชซอน เมื่อ 194 ปีก่อนคริสต์ศักราช ภายหลังอาณาจักรมาฮั่นถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรแพกเจ

อาณาจักรพยอนฮัน ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งเมื่อพุทธศตวรรษที่ 4 พยอนฮันเป็นอาณาจักรสืบต่อจากอาณาจักรจินที่เคยรุ่งเรืองในปลายยุคโกโชซอนทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ภายหลังพยอนฮันถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรคายา

อาณาจักรจินฮัน ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี รุ่งเรืองอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 1 ถึง พุทธศตวรรษที่ 4 ภายหลังถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรซิลลา


ยุคสามอาณาจักรแรก

ในยุคนี้คาบสมุทรเกาหลีถูกปกครองโดยสามอาณาจักรที่รุ่งเรืองนับพันปีบนคาบสมุทรเกาหลี คือ

อาณาจักรโกคูรยอ มีพื้นที่ตั้งแต่บริเวณตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีตอนใต้และตอนกลางของคาบสมุทรเหลียวตง เป็นอาณาจักรที่มีกองทัพที่เข้มแข็งเป็นอย่างมาก ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าดงเมียงซอง เมื่อ 37 ปีก่อนคริสต์ศักราช เดิมโกคูรยอคืออาณาจักรพุกพูยอ พระเจ้าดงเมียงซองทรงเปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรเป็นโกคูรยอ เมืองหลวงแห่งแรกคือ เมืองโจลบอน ในสมัยพระเจ้ายูริแห่งโกคูรยอได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองคุงแน และในสมัยพระเจ้าจางซูมหาราชได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองเปียงยาง อาณาจักรโกคูรยอล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 668 รัชสมัยพระเจ้าบอจาง จากการโจมตีของราชวงศ์ถังที่ปกครองประเทศจีนและอาณาจักรซิลลาที่อยู่ทางตอนใต้ อาณาจักรโกคูรยอมีอายุถึง 705 ปี

อาณาจักรแพกเจ ตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพระเจ้าอนจอซึ่งเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าดงเมียงซอง พระมเหสีโซซอโนพระราชมารดาของพระเจ้าอนจอทรงคิดจะตั้งอาณาจักรแห่งใหม่ขึ้นทางตอนใต้ ขึ้นเป็นอาณาจักรพี่น้องกับอาณาจักรโกคูรยอจึงได้อพยพประชาชนมาจากโกคูรยอและรวบรวมชนเผ่าต่างๆ เข้าด้วยกันก่อตั้งขึ้นเป็นอาณาจักรซิปเจ ปกครองโดยพระเจ้าอนจอภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็นอาณาจักรแพกเจ มีเมืองหลวงแห่งแรกคือเมืองวิรเย ในรัชสมัยพระเจ้ามุนจูได้ทรงย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองอุงจิน และในรัชสมัยพระเจ้าซองได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองซาบี อาณาจักรแพกเจล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 660 รัชสมัยพระเจ้าอึยจาจากการโจมตีของอาณาจักรซิลลา อาณาจักรแพกเจมีอายุถึง 678 ปี

อาณาจักรซิลลา ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 57 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพระเจ้าฮยอกกอเซกษัตริย์พระองค์แรกแห่งซิลลา ทรงรวบรวมชนเผ่าต่างๆเข้าด้วยกันจนกลายเป็นอาณาจักรซิลลา มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคยองจู อาณาจักรซิลลาสามารถรวบรวมอาณาจักรแพกเจและอาณาจักรโกคูรยอเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ในปี ค.ศ. 668 รัชสมัยพระเจ้ามูยอล

อาณาจักรคายา ตั้งอยู่บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลีแถบแม่น้ำนักดง ประกอบด้วยห้าราชวงศ์ คือ ราชวงศ์กึมควันคายา ราชวงศ์โกรยองคายา ราชวงศ์พีฮวาคายา ราชวงศ์อาราคายา และราชวงศ์ซองซันคายา ราชวงศ์หลักคือราชวงศ์กึมควันคายา ก่อตั้งขึ้นโดยพระเจ้าซูโร เมื่อ 42 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีตำนานว่าพระชายาของพระเจ้าซูโรเป็นองค์หญิงที่เดินทางมาจากประเทศอินเดียพระนามว่าองค์หญิงฮอฮวางอ๊ก ในรัชสมัยพระเจ้าคูฮย็องอาณาจักรคายาได้ถูกผนวกเข้ากับอาณาจักรซิลลาในรัชสมัยพระเจ้าบอปฮึง อาณาจักรคายามีอายุถึง 604


ยุคอาณาจักรเหนือใต้

เมื่ออาณาจักรซิลลาสามารถรวบรวมอาณาจักรแพกเจและอาณาจักรโกคูรยอเข้าด้วยกันได้ในปี ค.ศ. 668 แต่โดยที่จริงแล้วอาณาจักรซิลลาไม่ได้ครอบครองดินแดนทั้งหมดไว้เพียงแต่ครองครองดินแดนทางใต้เท่านั้น โดยเฉพาะดินแดนของอาณาจักรโกคูรยอซิลลาครอบครองเพียงบางส่วนเท่านั้น

อาณาจักรซิลลา ได้ยกดินแดนบนคาบสมุทรเหลียวตงให้แก่ราชวงศ์ถังของประเทศจีนหลังสิ้นสุดสงครามซิลลา-ถัง แต่ดินแดนทางเหนือจรดไปถึงแมนจูเรียตกอยู่ในการควบคุมของอาณาจักรเกิดใหม่อีกอาณาจักรหนึ่ง ชื่อว่า อาณาจักรบัลแฮ หรือเรียกว่า ป๋อไห่ ในชื่อเรียกตามภาษาจีน ในยุคสมัยนี้ นักประวัติศาสตร์บางท่านจึงจัดว่าเป็นยุคอาณาจักรเหนือใต้ของเกาหลี ประกอบด้วยสองอาณาจักรคือ
อาณาจักรบัลแฮ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแมนจูเรียและตอนเหนือของคาบสมุทรเกาหลีกับคาบสมุทรเหลียวตง ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 698 โดยพระเจ้าโกหรือพระเจ้าแดโจยอง เมื่อครั้งอาณาจักรโกคูรยอแตก ประชาชนได้กระจัดกระจายไปในที่ต่างๆ แดโจยองจึงได้รวบรวมประชาชนชาวโกคูรยอไปที่เมืองดองเกียว โดยเรียกว่าอาณาจักรจิน ภายหลังราชวงศ์ถังให้ชื่อใหม่เป็นอาณาจักรบัลแฮ และให้อาณาจักรบัลแฮเป็นเขตอำนาจของราชวงศ์ถัง อาณาจักรบัลแฮได้ล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 926 รัชสมัยพระเจ้าอินซอน การล่มสลายของบัลแฮเริ่มจากการทำสงครามกับราชวงศ์เหลียวของเผ่าคิตัน ราชวงศ์เหลียวได้โจมตีราชวงศ์ถังจนแตกเป็นแคว้นต่างๆมากมาย ในพุทธศตวรรษที่ 15 และบัลแฮเป็นเขตอำนาจของราชวงศ์ถังจึงถูกตีแตกไปด้วย ภายหลังประชาชนชาวโกคูรยอได้อพยพลงไปยังอาณาจักรซิลลาแล้วตั้งอาณาจักรแทบงขึ้นมา อาณาจักรบัลแฮมีอายุ 228 ปี

อาณาจักรซิลลา หรือ อาณาจักรรวมซิลลา หลังจากพระเจ้ามุนมูสามารถรวมอาณาจักรแพกเจและอาณาจักรโกคูรยอเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ ในปี ค.ศ. 668 อาณาจักรซิลลาถือว่าเป็นอาณาจักรแรกในประวัติศาสตร์เกาหลีที่สามารถรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันได้โดยมีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองคยองจู และอาณาจักรซิลลาล่มสลายลงเมื่อปี ค.ศ. 935 รัชสมัยพระเจ้าคยองซุน ได้ยอมจำนนต่ออาณาจักรฮูโกคูรยอและผนวกเข้ากับอาณาจักรฮูโกคูรยอ อาณาจักรซิลลามีอายุมากถึง 1092 ปี


ยุคสามอาณาจักรหลัง

ยุคนี้ได้เกิดสามอาณาจักรขึ้นมาอีกครั้งบนคาบสมุทรเกาหลีและภายหลังได้รวมกันได้อีกครั้ง ประกอบด้วย 3 อาณาจักร คือ

อาณาจักรซิลลา หรือ อาณาจักรรวมซิลลา หลังจากพระเจ้ามุนมูสามารถรวมอาณาจักรแพกเจและอาณาจักรโกคูรยอเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกันได้ ในปี ค.ศ. 668 อาณาจักรซิลลาถือว่าเป็นอาณาจักรแรกในประวัติศาสตร์เกาหลีที่สามารถรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันได้ จนในปี ค.ศ. 892 รัชสมัยพระราชินีจินซองอาณาจักรซิลลาเริ่มอ่อนแอลงจากการเกิดความวุ่นวายขึ้น จนในปี ค.ศ. 935 รัชสมัยพระเจ้าคยองซุน ได้ยอมจำนนต่ออาณาจักรฮูโกคูรยอหรืออาณาจักรโกคูรยอใหม่ อาณาจักรซิลลามีอายุมากถึง 1092 ปี

อาณาจักรแพกเจใหม่ หรือ อาณาจักรฮูแพกเจ ตั้งอยู่บริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งในปี ค.ศ. 892 โดยพระเจ้าคยอน ฮวอน มีเมืองหลวงอยู่ที่เมืองจอนจู พระเจ้าคยอน ฮวอน แห่งฮูแพกเจสามารถยึดครองซิลลาได้ในปี ค.ศ. 927 รัชสมัยพระเจ้าคยองแคแห่งซิลลา และให้อาณาจักรซิลลาเป็นเมืองขึ้นของของอาณาจักรฮูแพกเจ จนใน ค.ศ. 935 พระเจ้าคยอน ฮวอน สิ้นพระชนม์ วัง กอน ได้นำทัพเข้ายึดครองฮูแพกเจจนใน ค.ศ. 936 รัชสมัยพระเจ้าซินคอมแห่งฮูแพกเจได้ยอมจำนงต่ออาณาจักรฮูโกคูรยอ อาณาจักรแพกเจใหม่มีอายุ 44 ปี

อาณาจักรโกคูรยอใหม่ หรือ อาณาจักรฮูโกคูรยอ ตั้งอยู่บริเวณตะวันออกของคาบสมุทรเกาหลี ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 901 โดยพระเจ้ากุงเย มีเมืองหลวงแห่งแรกอยู่ที่เมืองซองอัก ต่อมาได้ย้ายไปที่เมือลชอลวอน ในปี ค.ศ. 918 พระเจ้ากุงเยถูกประหารชีวิตโดยวังกอน วังกอนได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์องค์ต่อมาของฮูโกคูรยอ และได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เมืองแคซอง จนในปี ค.ศ. 936 วังกอน สามารถรวบรวมอาณาจักรซิลลาและอาณาจักรฮูแพกเจเข้าเป็นอาณาจักรเดียวได้ จึงได้เปลี่ยนชื่อาณาจักรเป็นอาณาจักรโครยอ และเปลี่ยนชื่อเป็นพระเจ้าแทโจแห่งโครยอ


การเมืองการปกครอง

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2491 คาบสมุทรเกาหลีถูกแบ่งเป็นสองส่วนโดยเส้นละติจูดที่ 38 องศาเหนือ (มักเรียกว่าเส้นขนาน 38) โดยสหภาพโซเวียตดูแลเกาหลีเหนือมีการปกครองระบอบสังคมนิยม ส่วนสหรัฐอเมริกาดูแลเกาหลีใต้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ประมุขของประเทศคือประธานาธิบดี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนให้เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดีผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐสภาเป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ทางตุลาการ ทั้งนี้ เกาหลีใต้มีการแบ่งเขตการปกครองเป็น 9 จังหวัด และ 6 เขตการปกครอง (โซล ปูซาน อินชอน แตกู กวางจู แตชอน)


รัฐธรรมนูญ

เกาหลีใต้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2491 โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดอีก 9 ครั้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งล่าสุดมีขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เมื่อรัฐบาลประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ต้องประสบกับภาวะกดดันทางการเมืองจากพรรคการเมืองต่าง ๆ ซึ่งเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง และในที่สุด ประธานาธิบดีชุน ดู ฮวาน ก็ยินยอมให้มีการลงประชามติ แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง โดยอยู่ในตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว (5 ปี) และให้มีการจัดระบบการปกครองท้องถิ่นอิสระเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญที่ได้รับการแก้ไข ยังได้ยกเลิกอำนาจการยุบสภาของประธานาธิบดี และให้รัฐสภามีอำนาจหน้าที่ดูแลและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล รวมทั้งระบุว่ากองทัพต้องวางตัวเป็นกลางทางการเมือง


ข้อมูลทั่วไป

ที่ตั้ง
ตั้งอยู่ตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี โดยมีเส้นขนานที่ 38 แบ่งกั้นระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)พื้นที่ 99,392 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณร้อยละ 45 ของพื้นที่คาบสมุทรเกาหลี
ประชากร
47.7 ล้านคน (2545)
เมืองหลวง
กรุงโซล (Seoul)
เมืองสำคัญ
ปูซาน แตจอน แตกู อินชอน และกวางจู
สมาชิกสหประชาชาติ
17 ก.ย. 2534
GDP ต่อหัว
รายได้ต่อหัว 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ (2544)
เวลา
ประเทศเกาหลี เร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง
หน่วยเงินตรา
ประมาณ 1,200 วอน ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ
ภูมิอากาศ
มี 4 ฤดู คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว เดือน มิ.ย.- ส.ค. เป็นช่วงที่ฝนตกชุก อุณหภูมิโดยเฉลี่ย -5 C ในฤดูหนาว และ 33 C ในฤดูร้อน

คสพ.การทูต สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย เมื่อ 1 ต.ค. 2501
ออท. ไทย นายสมบูรณ์ เสงี่ยมบุตร
ประธานาธิบดี
นาย Roh Moo-hyun รับตำแหน่งเมื่อ 25 ก.พ. 2546
นายกรัฐมนตรี
นาย Goh Kun รมว.กต.และการค้า นาย Yoon Young-kwam
ศาสนา
มีประชากรนับถือศาสนา 54% ของประชากรทั้งหมด (พุทธ 51.2%โปรเตสแตนท์ 34.4% คาธอลิค 10.6% ขงจื๊อ 1.8%)
การศึกษา
ภาคบังคับ 9 ปี
อัตราการรู้หนังสือ
ร้อยละ 98
สิทธิเลือกตั้ง
ประชาชนทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป


เที่ยวน่ารู้ทัวร์เกาหลี อื่นๆ

• ทัวร์เกาหลี หมู่บ้านวัฒนธรรมนัมซาน( Namsan Hanok Village )
• ทัวร์เกาหลี พระราชวังเคียงบกกุง (Gyeongbokgung Palace)
• ทัวร์เกาหลี พระราชวังถ็อกล็อกซูกุง
• ทัวร์เกาหลี หอคอยโซล(N Seoul Tower)
• ทัวร์เกาหลี โรงละครแห่งชาติ
• ทัวร์เกาหลี ตลาดทงแดมุน( Dongdaemun Market )
• ทัวร์เกาหลี หมู่บ้านพื้นเมืองเกาหลี(Folk Villages)
• ทัวร์เกาหลี เอเวอร์แลนด์ สวนสนุกดิสนีย์แลนด์เกาหลี ( Everland )
• ทัวร์เกาหลี อุทยานแห่งชาติซอรักซาน(Seoraksan national park)
• ทัวร์เกาหลี พิพิธภัณฑ์เท็ดดี้แบร์ (Teddybear Museum)
• ทัวร์เกาหลี เกาะนามิ (Nami Island)


ทัวร์ฮ่องกง

ความรู้เกี่ยวกับฮ่องกง

ภูมิศาสตร์ฮ่องกง

ธงชาติญี่ปุ่นภูมิศาสตร์ฮ่องกง เกาะฮ่องกงเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 2 ถัดจากเกาะลันเตา โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 80.4 ตารางกิโลเมตร เกาะฮ่องกงอยู่หากจากแผ่นดินใหญ่ไม่มาก โดยมีอ่าววิคตอเรียกั้นอยู่ระหว่างเกาะฮ่องกงกับเกาลูน


วัฒนธรรมฮ่องกงทัวร์ฮ่องกงฮ่องกงคือสีสันแห่งวัฒนธรรมประเพณีอันละลานตาน่าอัศจรรย์เมืองใหญ่ซึ่งหลากหลายด้วยผู้คนต่างชาติภาษา ที่ซึ่งความใหม่และความเก่าพบกันอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่หอคอยเหล็กกล้าส่องประกายระยับ ไปจนถึงวัดวาอารามอันงดงาม ซึ่งได้รับการอนุรักษ์อย่างดี ลักษณะอันไม่หยุดนิ่งของฮ่องกงหล่อหลอมขึ้นจากอดีตอันมั่งคั่งกอปรกับความฝันถึงอนาคต การผสมผสานทางวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมแต่โบราณกาลเป็นอีกด้านที่น่าตื่นใจที่สุดสำหรับการมาเยือนฮ่องกง และเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นที่นครแห่งชีวิตภาคภูมิใจ จึงมีการจัดโครงการ สีสันวัฒนธรรมขึ้น เพื่อพานักท่องเที่ยวไปสัมผัสโอกาสอันน่าพิศวงต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงวิถีชีวิตของฮ่องกงได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น นักท่องเที่ยวยังอาจเรียนรู้มรดกวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของฮ่องกงด้วยการเยี่ยมชมอนุสรณ์สิ่งก่อสร้างที่เป็นสัญลักษณ์ของฮ่องกง แหล่งประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจะพาคุณสัมผัสโลกของฮ่องกงในอดีต หยั่งซึ้งถึงเสน่ห์แห่งวัฒนธรรมที่ก่อร่างขึ้นในนครซึ่งก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดยั้งนี้


เที่ยวน่ารู้ทัวร์ฮ่องกงอื่น

• ทัวร์ฮ่องกง ดิสนีย์แลนด์

ทัวร์ญี่ปุ่น

ความรู้เกี่ยวกับญี่ปุ่น


ธงชาติญี่ปุ่นที่ตั้งภูมิศาสตร์

ตั้งอยู่ด้านฝั่งตะวันออกของทวีปเอเชีย หรือทางตอนเหนือของมหาสมุทรแปซิฟิก หมู่เกาะญี่ปุ่นทอดตัวเป็นรูปโค้งเหมือนพระจันทร์เสี้ยว จากทางตอนเหนือที่ละติจูด 45 องศา 33 ลิปดาเหนือ มาทางใต้ ที่ละติจูด 20 องศา 25 ลิปดาเหนือ โดยมีความยาวท 3,800 กม.พื้นที่ 377,835 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยผืนดิน 374,744 ตารางกิโลเมตร และผืนน้ำ 3,091 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ชายฝั่งทะเล 29,751 กิโลเมตร

ทัวร์ญี่ปุ่นลักษณะภูมิประเทศ

ญี่ปุ่นมีพื้นที่ 377,835 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทางตะวันออกสุดของโลก จึงเป็นที่มาของชื่อ "ดินแดนอาทิตย์อุทัย " หมู่เกาะที่ทอดตัวยาวมีลักษณะเหมือนพระจันทร์เสี้ยว ประกอบด้วย 4 เกาะใหญ่ ได้แก่ ฮอกไกโด ฮอนชู ชิโกกุ คิวชู และมีเกาะใหญ่น้อยอีกกว่า 6,800 เกาะ ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา มีพื้นที่ราบเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น มีจังหวัดต่างๆ ทั้งหมด 47 จังหวัด (Prefecture) แบ่งเป็นเมืองต่างๆ รวมทั้งหมดมากกว่า 650 เมือง โดยมีโตเกียวเป็นเมืองหลวงของประเทศมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2411

ประชากร

ประมาณ 126.97 ล้านคน (พฤษภาคม 2545) อัตราการเติบโตของประชากร คือ ร้อยละ 0.15 (2545) ซึ่งนับเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุด เป็นอันดับที่ 8 ของโลก ความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คน /ตร.กม.

เชื้อชาติ

ชุดกิโมโนประเทศญี่ปุ่นในทางประวัติศาสตร์เชื่อกันโดยทั่วไปว่าบรรพบุรุษของชาวญี่ปุ่นได้แก่กลุ่มเผ่าพันธุ์หนึ่งที่เรียกในปัจจุบันว่า เผ่าพันธุ์ยามาโตะ ผสมกับคนที่อพยพมาจากแผ่นดินใหญ่ ได้แก่ จีนและเกาหลี ปัจจุบันคนต่างชาติกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในญี่ปุ่น ได้แก่ ชาวเกาหลีและชาวจีน รวมทั้งเผ่าไอนุ ทั้งนี้ ญี่ปุ่นไม่ถือว่าประเทศของตนมีชนกลุ่มน้อย

ศาสนา

ศาสนาใหญ่ ๆ มี 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาชินโต นอกจากนั้นได้แก่ ศาสนาคริสต์และลัทธิขงจื้อ

การปกครอง

ปกครองแบบรัฐสภาโดยมีพระมหากษัติรย์เป็นประมุข

ภาษา

ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาราชการ

วันและเวลา

ทั่วประเทศญี่ปุ่น อยู่ในรัศมีเส้นแบ่งเวลาเดียวกันตลอดทั้งประเทศ คือ 9 ชั่วโมง เร็วกว่าเวลามาตรฐานกรีนิช เวลาที่ญี่ปุ่นเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางจากประเทศไทยประมาณ 6 ชั่วโมง

สภาพภูมิอากาศ

ภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันออกไป เนื่องจากลักษณะพื้นที่ของประเทศที่ทอดตัวเป็นแนวยาว ทางเหนือ คือ เกาะฮอกไกโด มีอากาศหนาวจัดเกือบทั้งปี มีหิมะตกหนักในฤดูหนาว ในขณะที่ทางใต้ คือคิวชูและโอกินาวา จะมีสภาพอากาศแบบเมืองร้อน และฝนตกชุกในฤดูฝน

ประเทศญี่ปุ่นมี 4 ฤดูหลัก ที่มีความแตกต่งกันอย่างชัดเจน คือ

ฤดูหลักประเทศญี่ปุ่นฤดูใบไม้ผลิ : (มีนาคม-พฤษภาคม) เป็นฤดูที่สวยงาม ดอกไม้บานสะพรั่ง คนญี่ปุ่นถือว่าเป็นฤดูแห่งการเริ่มต้นของสิ่งต่างๆ และเป็นช่วงเปิดเทอม ช่วงปลายเดือนเมษายน – ต้นเดือนพฤษภาคม (29 เมษายน ถึง 5 พฤษภาคม) เป็นช่วง Golden Week ของชาวญี่ปุ่นที่จะได้หยุดพักผ่อนติดต่อกันเป็นเวลาหลายวัน

ฤดูร้อน : (มิถุนายน-สิงหาคม) ช่วงต้นฤดูร้อนจะมีฝนตกแทบทุกวันประมาณ 3-4 สัปดาห์ ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมอากาศร้อนชื้น และเป็นช่วงของการปิดภาคเรียน  ฤดูร้อน กิจกรรมที่นิยมกันมากที่สุดคือ การพักผ่อนตามชายหาด อาบแดด และแคมปิ้ง ในช่วงนี้ชาวญี่ปุ่นนิยมส่งการ์ดถึงกันและกันเพื่อถามเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในฤดูนี้ ซึ่งการ์ดนี้เรียกว่า Shochu mimai

ฤดูใบไม้ร่วง : (กันยายน-พฤศจิกายน) เป็นฤดูที่แสนโรแมนติก ใบไม้สีเขียวสีแดงค่อยๆร่วงหล่นในบริเวณทั่วไป และฤดูนี้ยังเป็นช่วงชองการแข่งกีฬาระหว่างโรงเรียนอีกด้วย ในฤดูนี้จะมี 1 วันที่พระอาทิตย์ส่องแสงยาวนานที่สุด ซึ่งเรียกว่า Geshi

ฤดูหนาว : (ธันวาคม-กุมภาพันธ์) ในช่วงนี้ภูมิภาคทางเหนืออย่าง ฮอกไกโด โตโฮกุ อากาศจะหนาวเย็นมากและมีหิมะตกหนัก แต่ในฤดูนี้มีเทศกาลที่มีความสำคัญที่สุดคือ ปีใหม่ คนในครอบครัวจะฉลองกันด้วย “บะหมี่ข้ามปี” หรือที่เรียกว่า Toshikoshi soba (ถือกันว่าบะหมี่นี้แทนความมีอายุยืน เพราะมีลักษณะเป็นเส้นยาว) และรอคอยฟังเสียงระฆังต้อนรับปีใหม่ ผู้ที่ตีระฆังนี้คือ พระ และจะตีทั้งหมด 108 ครั้ง เพราะคนญี่ปุ่นเชื่อว่าคนเราจะมีสิ่งไม่ดีอยู่ 108 อย่าง โดยเริ่มนับถอยหลังไปเรื่อยๆ เมื่อตีครบจำนวนจะเท่ากับว่า เราจะได้เริ่มต้นชีวิตใหม่กับสิ่งที่ดีๆ


ไปรษณีย์

ระบบไปรษณีย์ของญี่ปุ่น มีเครือข่ายอยู่มากมายทั่วประเทศ พร้อมทั้งบริการที่สะดวก รวดเร็ว และหลากหลาย นอกจากจะบริการส่งจดหมายและพัสดุแล้ว ยังมีบริการเปิดบัญชีออมทรัพย์ สำหรับฝาก-ถอนเงิน , ATM , โอนเงิน , เงินกู้ , เช็คเดินทาง และชำระค่าสาธารณูปโภคคล้ายๆ กับธนาคาร แม้ว่าดอกเบี้ยจะต่ำกว่าธนาคาร แต่เป็นที่นิยมเนื่องจากสะดวกและอยู่ในบริเวณย่านที่อยู่อาศัย สำหรับนักศึกษาต่างชาติสามารถเปิดบัญชีเงินฝากได้ทันที ไม่ต้องรอจนถึง 6 เดือน ทั้งยังมี ATM ของไปรษณีย์ไว้ให้บริการอีกด้วย โดยส่วนใหญ่ไปรษณีย์จะเปิดทำการวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 - 17.00 น. ปิดวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ บางสาขา มีเปิดบริการครึ่งวันในวันเสาร์-อาทิตย์และวันหยุด บางสาขามีเคาน์เตอร์บริการตลอด 24 ชั่วโมง และบริการส่งจดหมายระหว่างประเทศตลอด 365 วัน ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาทำงานของแต่ละสาขา สามารถสอบถามจากที่ทำการไปรษณีย์ใกล้ที่พักของท่านสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้

โทรศัพท์

โทรศัพท์สาธารณะในญี่ปุ่นสามารถพบได้ทั่วไปทุกหนทุกแห่ง มีทั้งแบบหยอดเหรียญและใช้บัตรโทรศัพท์ ค่าบริการโทรศัพท์ในญี่ปุ่นนั้นจะคิดต่อนาที โทรศัพท์ภายในประเทศคิดนาทีละ 10 เยน ไม่ได้คิดต่อการโทรหนึ่งครั้งเหมือนในประเทศไทยหากต้องการโทรศัพท์ทางไกลจากประเทศไทยไปญี่ปุ่น กด 001 + รหัสประเทศญี่ปุ่น + รหัสเมือง (ไม่ต้องกดศูนย์ ) + หมายเลขโทรศัพท์ 8 หลัก เช่น โทรไปโตเกียว กด 001 + 81 + 3 + 12345678

เที่ยวน่ารู้ทัวร์ญี่ปุ่นอื่นๆ

• ทัวร์ญี่ปุ่น เงิน "เยน" ของญี่ปุ่น
• ทัวร์ญี่ปุ่น การทิ้งขยะของชาวญี่ปุ่น
• ทัวร์ญี่ปุ่น เที่ยววัดในญี่ปุ่น
• ทัวร์ญี่ปุ่น Matcha & Sencha ชาเขียวญี่ปุ่น
• ทัวร์ญี่ปุ่น ชุดประจำชาติของญี่ปุ่น
• ทัวร์ญี่ปุ่น มารยาทในการรับประทานอาหารญี่ปุ่น
• ทัวร์ญี่ปุ่น ซูโม่ กีฬาประจำชาติญี่ปุ่น
• นกน้อยไร้ถิ่น ผกผินแดนอาทิตย์อุทัย เยือนกรุงโตเกียว เที่ยววัดอาซากุสะ
• นกน้อยไร้ถิ่น ผกผินแดนอาทิตย์อุทัย เยือนโตเกียวสกายทรี หอคอยที่สูงที่สุดในโลก

เบอร์โทรติดต่อ
เพิ่มเพื่อน

ประเทศ :
เดือน :
ปี :
จำนวน :
ราคา :
จัดกรุ๊ปเหมา จองตั๋วเครื่องบิน จัดกรุ๊ปเหมา ทำวีซ่า
16-19  ธ.ค.
11,999.-
ที่พักเชียงคานบุรี

แลกลิ้ง link exchange

ทัวร์ต่างประเทศ